Last updated: 15 ก.ค. 2567 | 50 จำนวนผู้เข้าชม |
เทศกาลบูชาเทพ #เพื่อความสว่างภายนอกสู่ภายใน
วัน “ดิวาลี” (Diwali) หรือ วันงานเทศกาลแห่งแสงสว่าง เรียกอีกอย่างได้ว่า “ทีปะวารี” (Deepavali) ถ้าแปลตามรูปศัพท์ในภาษาบาลีจะได้ความว่า สายน้ำแห่งแสงประทีป ซึ่งเป็นหนึ่งในเทศกาลสำคัญที่สุดของผู้นับถือศาสนาฮินดู เพราะเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองชัยชนะของแสงสว่างเหนือความมืด และชัยชนะของความดีเหนือความชั่วของประเทศอินเดีย
เทพเจ้าองค์สำคัญที่นิยมบูชากันในเทศกาลนี้ก็คือ #พระนางลักษมี เทวีแห่งความมั่งคั่ง และ #พระพิฆเนศ เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ โดยคนอินเดียจะสร้างซุ้มเพื่อประดิษฐานรูปเคารพของ 2 เทพเจ้าสำคัญนี้ แล้วทำการบูชาอย่างยิ่งใหญ่ เป็นเวลา 4 วันบ้าง หรือ 5 วันบ้าง ตามแต่ท้องที่ แต่ต้องมีการบูชาทุกหมู่บ้าน ด้วยความเชื่อว่า พระนางลักษมี จะเสด็จมาเยือนบ้านทุกหลังในช่วงเทศกาลนี้ เพื่อนำพาความมั่งคั่งและโชคลาภมาให้ และมีความเชื่อเพิ่มเติมอีกว่า พระนางจะมาเยือนบ้านหลังที่สะอาดและสว่างไสวที่สุดก่อน ส่วนบ้านที่สกปรกและมืดมนพระนางจะไปเยือนเป็นลำดับสุดท้าย (หรืออาจจะไม่ไปเลยก็เป็นได้)
ดังนั้นเทศกาลนี้ จึงเป็นเทศกาลแห่งการทำความสะอาด บูรณะซ่อมแซมบ้านครั้งใหญ่ประจำปี พอบ้านสะอาดแล้ว ชาวบ้านจะจุดตะเกียงไฟที่เรียกว่า ดิย่า Diyas (ตะเกียงไฟน้ำมันรูปถ้วยขนาดเล็กที่ทำจากดินเผา) เพื่อเชื้อเชิญพระนางลักษมีเข้าสู่บ้านของตน
แทบทุกบ้านมีการจุดพลุ จุดประทัด เพื่อขับไล่ความชั่วร้าย และ มีการจุดประทีปจนสว่างไสวไปทั่วทั้งเมืองเพื่อต้อนรับโชค จึงนับเทศกาลที่ใช้พลุมากที่สุดของอินเดีย และถือเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข ความสว่างไสว และความสวยงามของแผ่นดินภารตะแห่งนี้
ในสังคมฮินดูของชาวอินเดีย มีเทพเจ้าให้เลือกนับถือนับหมื่นนับแสนพระองค์บ้างกราบพระศิวะ บ้างนับถือพระวิษณุ บ้างบูชาพระแม่กาลี บ้างมีพระนางลักษมีเป็นสรณะ บ้างชอบลักษณะของพระหนุมาน บางส่วนเลือกนับถือเทพีประจำท้องถิ่น และมีไม่น้อยที่กราบไหว้ต้นไม้ หรือศรัทธาต่อแม่วัว ซึ่งในแต่ละรัฐของประเทศ ก็มักจะนับถือเหล่าทวยเทพแตกต่างกันไปตามลักษณะนิสัยและการเป็นอยู่ของสังคม เช่น ในเมืองพาราณสี ซึ่งเป็นเมืองหลวงทางจิตวิญญาณของชาวฮินดู จะยกให้พระศิวะเป็นใหญ่ที่สุด ขอบคุณข้อมูลจากพระครูอินเดีย
4 ต.ค. 2567
9 ก.ย. 2567
24 ต.ค. 2567
9 ต.ค. 2567